ต้นไม้ประจำในหลวงรัชกาลที่ 10
ลักษณะสำคัญต้นรวงผึ้ง
ต้นรวงผึ้ง หรือจะเรียกตามชื่อพื้นเมืองว่า ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง ก็ได้ ต้นรวงผึ้งเป็นไม้หอมที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้ประเภทเดียวกับปอ กระเจาและตะขบฝรั่งลักษณะเด่นของต้นรวงผึ้งคือ
ดอกสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน มีช่อดอกดกที่เกิดตามซอกใบเป็นช่อสั้น โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น ๕ แฉกคล้ายรูปดาว ไม่มีกลีบดอก มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ซึ่งส่วนที่มองเห็นเป็นสีเหลืองเหมือนดอกนั้นคือเกสรตัวผู้ที่รวมกันเป็นกระจุก ลำต้นแตกกิ่งต่ำ กิ่งค่อนข้างเล็กเรือนยอดเป็นพุ่มมน ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปแผ่นใบสองข้างไม่เท่ากัน ผิวใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีน้ำตาลอมนวล สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งและเพาะเมล็ดดอกรวงผึ้งจะเบ่งบานในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ผลิดอกได้นาน ๗-๑๐วัน เมื่อดอกสีเหลืองบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูงดงามอร่ามตา และส่งกลิ่นหอมชื่นใจตลอดทั้งวัน
การขยายพันธุ์
การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสม ที่สวนไม้หอมฯ ได้ทำการทดลองแล้วมีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งรากจึงจะได้ผลดีในการขยายพันธุ์ข้อดีของพันธุ์ไม้ต้นรวงผึ้ง
เป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกครั้งละมากๆ (เต็มต้น) เมื่อดินแห้งตามธรรมชาติเป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีช่วงการปลูกกว้าง สามารถขึ้นได้ดีทั้งที่แห้งแล้งและที่ค่อนข้างชื้น
เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่ต้องการการดูแลมาก ใบไม่ค่อยร่วง
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีระบบรากดีมาก ไม่มีการหักโค่นของต้นขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าจะเป็นกิ่งที่ได้จากการตอน
ข้อแนะนำ
เนื่องจากมีการออกดอกครั้งละมากๆ และมีผึ้งตอมเป็นจำนวนมาก ผึ้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปลูก
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ออกดอกในระยะสั้นเพียง 7 - 10 วัน/ครั้ง/ปี เท่านั้น
ในพื้นที่ที่มีน้ำมาก รวงผึ้งจะไม่ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น
การเลือกต้นรวงผึ้งที่ถูกต้อง ควรเป็นกิ่งกระโดงที่ตรง จะทำให้การเจริญเติบโตดี ทรงต้นสวยงามกว่ากิ่งที่ตอนมาจากส่วนอื่นๆ ของต้น
ข้อมูลอื่นๆ ของต้นรวงผึ้ง
เป็นพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเริ่มออกดอกให้ชมเป็นพันธุ์ไม้หอมที่เริ่มลดน้อยลงเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกช้า ช่วงการออกดอกไม่นาน และต้องใช้พื้นที่ในการปลูกมากๆ ไม่ค่อยตรงกับนิสัยคนไทยมากนัก หากไม่ชอบรวงผึ้งจริงๆ ก็ไม่ควรปลูก จะได้ไม่เสียเวลาเปล่า
ขอบคุณแหล่งที่มา www.sanook.com
No comments:
Post a Comment